วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2561

เสริมหน้าอก มั่นใจ ทรงสวยธรรมชาติ

เนินอกอวบอิ่มด้วยซิลิโคนทรงกลม-อกสวยเป็นธรรมชาติด้วยทรงหยดน้ำ

ผู้หญิงที่มีขนาด หน้าอกใหญ่ อวบอิ่มมักจะรู้สึกมั่นใจ แต่งตัวก็ออกมาดูสวย มีส่วนโค้งส่วนเว้าน่ามอง ส่วนสาวอกเล็กมักรู้สึกว่าเป็นปมด้อย โดนทักว่าอกไข่ดาวบ้างล่ะ บางทีถูกแซวว่าอกแบนเป็นไม้กระดานก็มีบ่อย ทำให้รู้สึกเสียเซลฟ์อยู่ไม่น้อย วิธีแก้ปัญหาแบบไม่ต้องเสียเวลาดันทรงทุกครั้งยามแต่งตัวคือผ่าตัด เสริมหน้าอก ใส่ซิลิโคนเพิ่มความอึ๋มไปเลย การ ทำนม สมัยนี้เป็นเรื่องแสนธรรมดากระทั่งว่าในบรรดาการศัลยกรรมความงามทั้งหมดการ ทำหน้าอก กลายเป็นศัลยกรรมที่ได้รับความนิยมในอันดับต้นๆ เลยทีเดียว ปัจจุบัน การ เสริมหน้าอก มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านเทคนิคและถุงซิลิโคนที่ใช้เสริม ซิลิโคนมีให้เลือกทั้งแบบทรงกลมหากต้องการเสริมแล้วได้เนินอกสวยอวบอิ่ม หรือถ้าชอบแบบสวยเป็นธรรมชาติก็ต้องเป็นทรงหยดน้ำที่รูปร่างซิลิโคนทำเลียนแบบเต้านมธรรมชาติจริงๆ

แต่เดิมถุงซิลิโคนจะผลิตขึ้นรูปมาเป็นทรงกลมอย่างเดียว แต่ปัจจุบันมีการพัฒนารูปทรงถุงซิลิโคนเป็นทรงหยดน้ำ แถมกระแสก็มาแรงในหมู่คนที่ต้องการเสริมหน้าอกด้วย



ซิลิโคนทรงกลม แม้ว่ากระแสซิลิโคนทรงหยดน้ำจะมาแรง แต่ซิลิโคนทรงกลมยังคงเป็นตัวเลือกที่เป็นมาตรฐานและดีที่สุด สำหรับคนที่ต้องการเสริมหน้าอกโดยทั่วไป, คนที่ต้องการเสริมหน้าอกขนาดใหญ่ หรือคนที่ต้องการเสริมให้เนื้อหน้าอกบริเวณด้านบนดูอวบอิ่มขึ้นเพื่อโชว์เนินอก ซิลิโคนทรงกลมมีขนาดที่หลากหลาย มีทั้งทรงพุ่งมากและพุ่งน้อย ในการเสริมก็ต้องเลือกให้เหมาะกับลักษณะของเต้านม, รูปร่างลำตัวของแต่ละคน เช่น ถ้าฐานเต้านมเล็กก็ควรเลือกซิลิโคนที่ขนาดไม่กว้างมาก หรือถ้าเต้านมพุ่งอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องเสริมด้วยทรงที่พุ่งมาก เป็นต้น นอกจากนั้นซิลิโคนทรงกลมจะมีความนุ่ม และขอบที่โค้งมนเข้ารูป เมื่อเสริมแล้วความรู้สึกสัมผัสบริเวณเต้านมจะนิ่มเป็นธรรมชาติ

ซิลิโคนทรงหยดน้ำ เป็นทรงที่ถูกออกแบบมาให้เลียนแบบเต้านมตามธรรมชาติที่ลักษณะคล้ายหยดน้ำ คือบริเวณส่วนล่างจะใหญ่กว่าส่วนบน หน้าอกหลังเสริมจึงดูเป็นธรรมชาติ และด้วยทรงของซิลิโคนที่ไม่สมมาตร หลังทำนมจึงไม่จำเป็นต้องนวด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบิดเบี้ยว นี่คงเป็นเหตุผลที่ทำให้ซิลิโคนทรงหยดน้ำเป็นกระแสขึ้นมา อย่างไรก็ตาม การเสริมด้วยซิลิโคนทรงหยดน้ำ เวลาจับหรือสัมผัสเต้านมจะรู้สึกถึงซิลิโคนได้ โดยเฉพาะในคนที่มีผิวบาง เนื้อหน้าอกน้อย เพราะซิลิโคนเจลภายในของทรงหยดน้ำจะค่อนข้างแข็ง ไม่ค่อยยืดหยุ่น ซิลิโคนทรงหยดน้ำเหมาะกับคนที่ไม่ต้องการทำหน้าอกที่ใหญ่มากหรือเสริมแล้วไปเพิ่มความนูนของเนินด้านบนหน้าอก, คนที่ต้องการให้ทรงดูเป็นธรรมชาติ หรือคนที่หน้าอกหย่อนคล้อยเล็กน้อยหรือปานกลาง จะช่วยให้เต้านมเชิดขึ้นได้

นอกจากเรื่องของทรงถุงซิลิโคนที่พูดไปข้างต้น ยังมีข้อน่ารู้อื่นๆ เกี่ยวกับถุงซิลิโคน ทุกวันนี้ถุงซิลิโคนที่แพทย์ใช้ เสริมหน้าอก มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ ถุงซิลิโคนเจล และ ถุงซิลิโคนน้ำเกลือ สองแบบนี้แตกต่างกันตรงที่ถ้าเป็นถุงซิลิโคนน้ำเกลือ เปลือกนอกของถุงจะเป็นซิลิโคนและภายในกลวง โดยมีช่องทางหรือวาล์วให้เติมน้ำเกลือให้ได้ขนาดตามต้องการ ส่วนถุงซิลิโคนเจลภายในจะบรรจุด้วยซิลิโคนที่เป็นชนิดเจลโดยผลิตสำเร็จรูปมาจากโรงงานมีขนาดต่างๆ กันไป

ถึงจะมีสองแบบให้เลือก แต่ทุกวันนี้ศัลยแพทย์ส่วนใหญ่รวมถึงที่ รพ.ยันฮี นิยม เสริมหน้าอก ด้วยถุงซิลิโคนเจล เนื่องจากถุงน้ำเกลือมีโอกาสเกิดการรั่วซึมหรือแฟบได้เมื่อใช้ไปนานๆ แม้ว่าน้ำเกลือที่รั่วซึมออกมานั้นไม่มีอันตรายแต่อย่างใดร่างกายสามารถขับออกได้ แต่ก็ต้องมาผ่าตัดเปลี่ยนถุงกันใหม่ ขณะที่ปัญหาการแตกรั่วของถุงซิลิโคนเจลแทบไม่มี ยิ่งสมัยนี้ถุงเจลมีการพัฒนาไปมาก เนื้อเจลภายในถุงมีการเกาะตัวกันสูงทำให้โอกาสจะแตกรั่วหรือซึมผ่านออกมานอกถุงเป็นไปได้ยากมาก นอกจากนั้นในเรื่องของความยืดหยุ่นหรือความนุ่มของถุงซิลิโคนเจลพบว่ามีความยืดหยุ่นใกล้เคียงกับเต้านมธรรมชาติมากกว่า

ส่วนผิวของถุงซิลิโคนที่ใช้ๆกันอยู่ทุกวันนี้ จะมีลักษณะผิว 2 แบบ คือ ผิวเรียบ และ ผิวขรุขระ หรือผิวทราย สำหรับชนิดผิวเรียบนั้นมีการใช้งานกันมานานมากแล้ว แต่พบว่ามีปัญหาเกิดเป็นพังผืดรัดถุงซิลิโคนทำให้เต้านมผิดรูปและแข็ง จึงได้มีการพัฒนาซิลิโคนผิวทรายขึ้นมา เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ถึงวันนี้ศัลยแพทย์ส่วนมากจะหันมาเลือกใช้ซิลิโคนผิวทรายเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ซิลิโคนผิวเรียบก็มีที่ใช้กันอยู่ อย่างในกรณีมีเนื้อหน้าอกบางมากๆ การใช้ซิลิโคนผิวทรายอาจจะมองเห็นเป็นคลื่น (Rippling) ได้ หรือในคนที่ต้องการใส่ขนาดที่ใหญ่มากๆ การจะสอดซิลิโคนผ่านแผลผ่าตัด หากเป็นผิวเรียบจะทำได้สะดวกกว่าเพราะบีบให้เล็กลงได้ง่ายและมีความลื่นมากกว่า หรือบางคนที่ต้องการผิวสัมผัสที่นุ่มมือมากกว่าแพทย์ก็จะแนะนำชนิดผิวเรียบ

แพทย์ผ่าตัดใส่ซิลิโคนเข้าไปทางใด?

โดยทั่วไป ศัลยแพทย์จะผ่าตัดใส่ถุงซิลิโคนเข้าไปในเต้านมผ่านช่องทางใดช่องทางหนึ่งดังนี้

ใต้รักแร้สองข้าง เป็นตำแหน่งที่นิยมผ่าตัดมากที่สุดเพราะสามารถซ่อนรอยแผลผ่าตัดได้ดี แม้หลังทำจะเจ็บมากกว่าการเปิดแผลที่ตำแหน่งอื่น แต่แผลจะหายเร็วกว่าและสามารถเริ่มนวดหน้าอกได้เร็ว โอกาสจะเกิดปัญหาเรื่องพังผืดมารัดตัวถุงซิลิโคนจะน้อยลง
บริเวณปานนม เหมาะทำในคนที่หน้าอกหย่อนคล้อยโดยจะเสริมหน้าอกไปพร้อมกับยกกระชับหน้าอก หลังเสริมจะมีแผลเป็นที่ปานนม และอาจมีปัญหาหัวนมชาชั่วคราวได้
ใต้ราวนม จะมีแผลผ่าตัดใต้ราวนมยาวประมาณ 3-4 ซม. ซึ่งต้องรอให้แผลหายดีก่อนจึงจะเริ่มนวดหน้าอกได้
การ เสริมหน้าอก ด้วยซิลิโคนทรงกลม สามารถเปิดแผลผ่าตัดเพื่อใส่ซิลิโคนเข้าช่องทางใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นใต้รักแร้สองข้าง, บริเวณปานนม หรือใต้ราวนม โดยที่ซิลิโคนไม่เสียรูปทรง แต่ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะนิยมผ่าเข้าบริเวณใต้รักแร้เพื่อซ่อนรอยแผลเป็น ส่วนการเสริมซิลิโคนทรงหยดน้ำ แพทย์จะเปิดแผลใต้ราวนม โดยจะเปิดช่องสำหรับวางซิลิโคนให้พอดีไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป เพื่อไม่ให้ซิลิโคนหมุนตัวได้ จนอาจเกิดปัญหาถุงซิลิโคนผิดรูปหรือเต้านมบิดเบี้ยว บางคนอาจสงสัยว่าทรงหยดน้ำจะผ่าตัดใส่เข้าทางรักแร้ได้หรือไม่ ก็ต้องบอกเลยว่าหากผ่าเข้าทางรักแร้มีโอกาสที่ซิลิโคนจะหมุนบิดเสียทรงได้ ในคนที่เนื้อนมหนาก็อาจไม่เห็นแต่ถ้าเนื้อนมบางจะเห็นชัดเจน แล้วรูปทรงที่เปลี่ยนจะแก้ไขยาก ดังนั้นแพทย์จะไม่แนะนำให้ผ่าเข้าทางรักแร้

แพทย์วางซิลิโคนไว้ตำแหน่งไหนของเต้านม?

ตำแหน่งที่แพทย์จะวางซิลิโคนจะมีอยู่ 2 ตำแหน่ง คือ วางใต้กล้ามเนื้อ หรือ วางใต้ตัวเนื้อนม ซึ่งแพทย์จะเลือกตำแหน่งไหนนั้นจะดูลักษณะโครงสร้างเต้านมเป็นหลัก ไม่ได้ขึ้นกับความพอใจของผู้ที่มาเสริมอกอย่างเดียว

กรณีวางใต้กล้ามเนื้อ การวางที่ตำแหน่งนี้จะต้องมีการตัดกล้ามเนื้อบางส่วนออกไป ตอนทำจึงเจ็บมากและต้องพักฟื้นนาน แต่หลังเสริมจะได้เนินอกสวยลาดเอียงเป็นธรรมชาติ ลดปัญหาการคลำเจอหรือมองเห็นขอบถุงซิลิโคน ลดโอกาสที่ถุงซิลิโคนจะหย่อนคล้อย และโอกาสที่จะเกิดพังผืดเกาะรอบซิลิโคนมีน้อย

กรณีวางใต้ตัวเนื้อนม หลังเสริมเต้านมจะชิดกันดูสวยงาม แถมยังไม่ค่อยเจ็บเพราะไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ แต่ตำแหน่งนี้มีโอกาสเกิดพังผืดสูง และไม่เหมาะกับคนที่รูปร่างผอม เนื้อเต้านมน้อย เพราะจะเห็นขอบซิลิโคนชัดเจน

การ เสริมหน้าอก ไม่ว่าจะวางซิลิโคนไว้ตรงตำแหน่งไหนไม่มีผลต่อการให้นมบุตร เนื่องจากถุงซิลิโคนวางอยู่ด้านใต้เนื้อนมส่วนที่ใช้สร้างน้ำนม จึงไม่มีผลกระทบต่อการสร้างน้ำนมแต่อย่างใด หากตั้งครรภ์ก็สามารถให้นมบุตรได้ตามปกติ

ต้องนวดหน้าอกหลังเสริมหรือไม่?

นี่คงเป็นข้อสงสัยในใจของหลายๆ ท่าน ด้วยที่ผ่านมาหลังเสริมแพทย์มักจะกำชับให้นวดหน้าอกอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการ เสริมหน้าอก ด้วยถุงซิลิโคนนั้น ร่างกายจะสร้างพังผืดมาห้อมล้อมถุงซิลิโคนไว้เสมอ ถ้าพังผืดมีมากก็อาจทำให้เต้านมมีลักษณะแข็งตึงไม่เหมือนธรรมชาติได้ แต่เดี๋ยวนี้ก็มีที่ว่าเสริมแล้วไม่ต้องนวดด้วย ทำให้บางท่านอาจสับสน ดังนั้นขออธิบายให้เข้าใจพอสังเขปดังนี้

หลังเสริมแล้วไม่ต้องนวดจะแบ่งเป็น 2 กรณีคือ

กรณีเสริมด้วยซิลิโคนทรงกลม ที่เป็นถุงซิลิโคนเจลรุ่นใหม่ๆ คุณภาพสูง ซึ่งเจลที่อยู่ภายในถุงซิลิโคนมีความหนาแน่นสูง มีโมเลกุลเชื่อมโยงกันเป็นอย่างดี โอกาสเกิดพังผืดจะน้อยมากเมื่อเทียบกับถุงเจลเสริมหน้าอกทั่วไป หากเสริมซิลิโคนขนาดไม่ใหญ่ก็ไม่จำเป็นต้องนวด แต่ ถ้าเสริมขนาดใหญ่ตั้งแต่ 300 ซี.ซี. ขึ้นไป ต้องนวดให้มีการขยับของซิลิโคนบ้างป้องกันการเกิดพังผืด
กรณีเสริมด้วยซิลิโคนทรงหยดน้ำ ด้วยลักษณะรูปทรงเฉพาะหากนวดอาจมีโอกาสบิดเบี้ยวผิดรูปได้ โดยปกติแพทย์จะไม่แนะนำให้นวดเลย แต่ถ้าใส่ขนาดใหญ่ตั้งแต่ 300 ซี.ซี. ขึ้นไป อาจต้องนวดบ้างเล็กน้อยให้มีการขยับของซิลิโคนบ้างเพื่อป้องกันพังผืด แพทย์จะแนะนำวิธีการนวดที่ถูกต้องให้ เพราะหากนวดผิดวิธี ก็อาจเสี่ยงทำให้ เต้านมบิดเบี้ยวผิดรูป
ในกรณีเสริมด้วยซิลิโคนทรงกลมทั่วไป ที่ไม่ใช่ซิลิโคนเจลรุ่นใหม่ หลังเสริมจะต้องทำการนวดหน้าอก เพื่อป้องกันปัญหาการเกิดพังผืดหดรัดถุงซิลิโคนทำให้เต้านมที่เสริมไปแข็งตัว โดยปกติซิลิโคนทรงกลมจะนวดได้ง่าย ไม่ต้องกังวลว่าจะเสียทรงหรือบิดเบี้ยวเหมือนทรงหยดน้ำและแพทย์มักแนะนำให้นวดนานประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี ควรรอให้หายเจ็บปวดก่อนจึงจะเริ่มนวดโดยนวดเบาๆ รอบเต้านม วันละ 2-3 รอบ รอบละประมาณ 3-5 นาที กรณีเสริมด้วยซิลิโคนผิวทราย ควรเริ่มนวดหลังจากสองสัปดาห์ไปแล้ว ถ้ารีบนวดอาจทำให้เกิดการเสียดสีกับโพรงใต้กล้ามเนื้อทำให้เกิดเลือดซึมออกมาภายในได้ และไม่จำเป็นต้องนวดบ่อย เพราะโดยผิวที่ขรุขระของถุงซิลิโคนจะช่วยลดการเกิดพังผืดได้ในระดับหนึ่ง ส่วนการเสริมด้วยซิลิโคนผิวเรียบสามารถเริ่มนวดได้เร็วและจะไม่ค่อยเจ็บมากเวลานวด



เตรียมตัวอย่างไรก่อน เสริมหน้าอก

เมื่อมาพบแพทย์ควรสอบถามแพทย์ให้เข้าใจเกี่ยวกับการเสริมหน้าอก เช่น ซิลิโคนที่ใช้, เทคนิคการผ่าตัด, การดูแลหลังทำ, ภาวะแทรกซ้อน เป็นต้น เพื่อความเข้าใจและมั่นใจที่จะเข้ารับการผ่าตัด ตลอดจนแจ้งแพทย์ให้ทราบว่าต้องการหน้าอกขนาดใหญ่เท่าไร หรือขนาดของซิลิโคนที่ต้องการ แต่ทั้งนี้ การเลือกขนาดซิลิโคนจะต้องคำนึงถึงเนื้อนมว่ามีมากพอที่จะรองรับด้วยหรือไม่ ซึ่งแพทย์จะช่วยพิจารณาและแนะนำ
แจ้งประวัติสุขภาพให้แพทย์ทราบ เช่น โรคประจำตัว, ยาที่รับประทานเป็นประจำ ควรนำยาที่รับประทานอยู่ทั้งหมดมาปรึกษาแพทย์ก่อนทำผ่าตัด
ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะได้รับการตรวจสุขภาพร่างกายทั่วไป และตรวจเลือดก่อนผ่าตัด
งดการใช้ยาที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน ประมาณ 2 สัปดาห์ และงดวิตามิน อาหารเสริมที่มีผลต่อการบวมช้ำของแผลได้ เช่น วิตามิน A, วิตามิน E, น้ำมันตับปลา ประมาณ 1สัปดาห์ ก่อนผ่าตัด
งดสูบบุหรี่ทั้งก่อนและหลังผ่าตัดเสริมนม ประมาณ 2 สัปดาห์ เนื่องจากนิโคตินในบุหรี่อาจจะลดประสิทธิภาพในการหายของแผล และงดดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 1 สัปดาห์
เนื่องจากการผ่าตัดเสริมหน้าอกแพทย์จะต้องมีการเลาะช่องสำหรับใส่ถุงซิลิโคนในบริเวณกว้างพอสมควร และเพื่อลดความเครียดกังวลใจขณะผ่าตัด จึงต้องทำโดยการดมยาสลบ ก่อนผ่าตัดต้องงดอาหารและน้ำอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เพื่อมิให้เกิดการสำลักอาหารที่อาจจะค้างในกระเพาะอาหารได้ในระหว่างดมยาสลบ
ขั้นตอนการผ่าตัด เสริมหน้าอก

แพทย์จะเปิดแผลผ่าตัดซึ่งส่วนมากจะเป็นที่รักแร้ เนื่องจากสามารถซ่อนรอยแผลเป็นได้ดี จากนั้นจะเลาะช่องสำหรับวางถุงซิลิโคน อาจเป็นใต้ตัวเนื้อนมหรือใต้กล้ามเนื้อหน้าอกก็ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ เมื่อจัดวางถุงซิลิโคนเข้าที่เรียบร้อยแล้วก็จะเย็บแผลปิดด้วยไหมขนาดเล็ก ๆ โดยทั่วไป การผ่าตัดเสริมหน้าอกจะใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดประมาณ 2-3 ชั่วโมง หลังการผ่าตัดต้องนอนพักในโรงพยาบาล 1 – 2 วัน ระยะเวลาในการพักฟื้นประมาณ 1 สัปดาห์ ในช่วง 2 -3 วันแรกหลังทำอาจมีความรู้สึกตึงและปวดได้ ถือว่าเป็นอาการปกติ ส่วนตัวเต้านมจะค่อย ๆ ยุบบวมลงจนเข้าที่ใช้เวลาประมาณ 1 – 2 เดือน

การปฏิบัติตนหลังผ่าตัด เสริมหน้าอก

ในช่วง 7 วันแรกหลังผ่าตัด ควรระมัดระวังไม่ให้แผลผ่าตัดโดนน้ำ
งดยกสิ่งของหนักเหนือศีรษะ และงดกิจกรรมหนักหรือใช้กำลังมาก ประมาณ 1 เดือน
ในช่วงฟื้นตัวระยะแรกควรหลีกเลี่ยงเสื้อชั้นในแบบมีโครง เพราะแรงดันจากโครงอาจทำให้เกิดรอยบนหน้าอกตามแนวโครงได้
แผลผ่าตัดโดยมากใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ก็มาตัดไหมได้ ส่วนแผลเป็นจะจางหายไปใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน
หากแพทย์แนะนำให้นวดหน้าอกควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดพังผืดจนเต้านมแข็งตึงไม่เป็นธรรมชาติ
หากมีอาการผิดปกติควรกลับมาพบแพทย์โดยไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด
ผู้ที่ผ่าตัดเสริมหน้าอก ควรหมั่นตรวจดูเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ เพื่อดูลักษณะเต้านมว่ายังคงสภาพปกติดีหรือไม่ หากมีข้อสงสัยหรือปัญหาควรปรึกษาแพทย์
ซิลิโคน เสริมหน้าอก มีอายุการใช้งานนานแค่ไหน?

โดยทั่วไปอายุการใช้งานของซิลิโคนจะประมาณ 10 ปีขึ้นไป ถ้าเป็นซิลิโคนทรงกลมรุ่นที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะมีอายุการใช้งานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป แต่ถ้าเป็นซิลิโคนทรงหยดน้ำ อายุการใช้งานจะนานกว่า คือ 15 ปีขึ้นไป เนื่องจากคุณภาพของเจลดีกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่าเมื่อถึงระยะเวลาที่ว่าแล้วจะต้องมาผ่าตัดเปลี่ยนถุงซิลิโคนใหม่ทุกราย ถ้าไม่มีปัญหาหรืออาการผิดปกติใดๆ ก็ยังไม่ต้องผ่าตัดเปลี่ยนใหม่ เพียงแต่หลังจากทำไปนานๆ เช่น หลังเสริมไปแล้ว 10 ปี ควรได้รับการตรวจเต้านมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูความผิดปกติของซิลิโคน เช่น การตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) หรือการสังเกตว่าซิลิโคนหมดอายุหรือไม่ อาการที่บ่งบอกว่าซิลิโคนหมดอายุคือ เริ่มแรกหน้าอกจะนิ่มมาก นาน ๆ ไปจะค่อยๆ แข็งเป็นก้อน ถ้ามีก็ควรรีบไปพบแพทย์ สำหรับท่านที่เสริมหน้าอกมานาน ๆ หลายปีแล้ว และหากเกิดปัญหาถุงซิลิโคน เช่น ซิลิโคนแตก รั่วซึม สามารถผ่าตัดเปลี่ยนเป็นถุงซิลิโคนชนิดใหม่ที่มีความปลอดภัยสูงขึ้นได้

ถุงซิลิโคนเจลเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านมหรือไม่?

การ เสริมหน้าอก ด้วยถุงซิลิโคนเจลไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งของเต้านมแต่อย่างใด และพบว่าไม่ได้เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยหลายโรคที่ในอดีตเคยคิดว่าเกี่ยวข้องกับถุงซิลิโคน ยิ่งในปัจจุบันหากใช้ถุงซิลิโคนเจลที่มีคุณภาพสูงหรือถุงซิลิโคนเกรดเอ แม้ว่าถุงซิลิโคนจะแตกรั่วขึ้นมาก็ไม่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ ส่วนกรณีถุงซิลิโคนหมดอายุ ถ้าไม่เอาออกแม้จะไม่มีโอกาสเกิดมะเร็ง แต่ในระยะยาวหน้าอกจะแข็งเป็นก้อน และเกิดพังผืดรัดแน่นบริเวณซิลิโคนได้ จึงควรพบแพทย์ผ่าตัดเปลี่ยนถุงซิลิโคนใหม่

ก่อนจากกันฝากไว้อีกเรื่อง จะ ทำนม เสริมอึ๋มเพิ่มขนาดให้ หน้าอกใหญ่ ขึ้นทั้งที ก็ควรทำให้สวยครบกันไปเลย ถ้าหัวนมหรือปานนมไม่สวยงาม ทำให้ความมั่นใจมาไม่เต็มร้อย แนะนำให้ผ่าตัด ตกแต่งหัวนม หรือ ตกแต่งปานนม ไปพร้อมกับการเสริมเต้านมเลยก็ดี ต่อไปเวลาส่องกระจกจะได้เห็นเต้านมสวยๆ โดยไม่มีอะไรให้สะดุดค่ะ

เสริมหน้าอกมาแล้ว พบว่าหน้าอกข้างหนึ่งนิ่ม ข้างหนึ่งแข็ง จะเป็นอะไรหรือไม่ และต้องทำอย่างไร
หลังการผ่าตัดหากยังไม่ครบ 1 เดือน ให้นวดคลึงบริเวณหน้าอกเพื่อลดความแข็งตัวของเต้านม แต่ถ้าเกิน 6 เดือนไปแล้วหน้าอกยังแข็ง ต้องมาพบแพทย์เพื่อทำการผ่าตัดพังผืดออก
—————————————————-
เสริมหน้าอกแล้วสามารถให้นมบุตรได้หรือไม่
หลังการเสริมหน้าอก สามารถให้นมบุตรได้ตามปกติ เนื่องจากไม่ได้ผ่าตัดบริเวณท่อน้ำนม และท่อน้ำนมยังคงผลิตน้ำนมได้ตามปกติ
—————————————————-
ซิลิโคนเสริมหน้าอกมีกี่แบบ
ซิลิโคนที่ใช้ในการเสริมหน้าอกมี 2 แบบ คือ
• ซิลิโคนทรงกลม เหมาะกับคนที่ต้องการเสริมหน้าอกขนาดใหญ่ หลังเสริมจะไม่เกิดการหมุนผิดรูปของซิลิโคน คนไข้ต้องนวดหน้าอก เพื่อป้องกันการเกิดพังผืดหดรัดถุงซิลิโคน
• ซิลิโคนทรงหยดน้ำ เหมาะกับคนที่ไม่ต้องการหน้าอกใหญ่มาก หลังเสริมจะได้หน้าอกที่ดูเป็นธรรมชาติ คนไข้ไม่ต้องนวดเต้านมหรือนวดบ้างเล็กน้อย เพราะการนวดผิดวิธีอาจเสี่ยงที่เต้านมจะบิดเบี้ยวผิดรูปได้
—————————————————-
ในการเสริมหน้าอก แพทย์จะใส่ซิลิโคนเข้าทางไหน
โดยปกติ ในการเสริมหน้าอกแพทย์จะเปิดแผลผ่าตัดเพื่อใส่ซิลิโคน 3 ตำแหน่ง ดังนี้
• บริเวณรักแร้
• บริเวณปานนม
• บริเวณฐานนม
แต่ส่วนใหญ่คนไทยและคนเอเชียมักนิยมผ่าตัดที่บริเวณรักแร้ เนื่องจากสามารถซ่อนรอยแผลได้ดี เริ่มนวดหน้าอกได้เร็ว และแผลจะหายเร็วและสวยกว่าผ่าตัดเข้าทางอื่น
—————————————————-
การเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนจะก่อให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมหรือไม่
การเสริมหน้าอกไม่ได้เป็นตัวกระตุ้นหรือก่อให้เกิดมะเร็งเต้านมแต่อย่างใด เพราะซิลิโคนที่ใช้ในการเสริมหน้าอกนั้นได้ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) แล้วว่ามีความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น